ในประเทศ

ปฏิวัติวงการเสื้อยืดแบบ Customize รายแรกในไทย กับการเปิดตัว ‘คราฟตี้ คอตต้อน’ คอมมูนิตี้ที่สร้างมูลค่าให้ทุกไอเดียกลายเป็นงานศิลปะบนเสื้อยืด

บริษัท แอล เอคลาท์ จำกัด องค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์และสนับสนุนศิลปินจากทั่วทุกมุมโลก ด้วยโปรเจคสำคัญภายใต้ชื่อ ‘CraftyCotton’ ได้จัดงานเปิดตัว แพลตฟอร์มคอมมูนิตี้ “CraftyCotton 1st Event : Grand Opening Community T-Shirt Design” คอมมูนิตี้ยุคใหม่ที่นำศิลปะดิจิทัลมาพบกับแฟชั่น บนแพลตฟอร์มคอมมูนิตี้ที่ครบวงจร ให้คุณค่ากับทุกไอเดียของครีเอเตอร์ เพิ่มทางเลือกและเข้าถึงผู้บริโภคสมัยใหม่ โดยมี คุณลัลณ์ณภัทร พรหมจันทร์ ละคณะผู้บริหารฯ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทฯ และคอมมูนิตี้ ร่วมด้วย คุณอะตอม-ปกรณ์ แก้วดี ครีเอเตอร์สาย Art & Craft และเหล่าครีเอเตอร์รุ่นใหม่ มาร่วมพูดคุยแชร์ประสบการณ์ การสร้างสรรค์ผลงาน และการนำเสนอคอลเล็คชั่นพิเศษ บนคอมมูนิตี้ CraftyCotton (คราฟตี้ คอตต้อน)

ปัจจุบันตลาดเสื้อยืดแบบ Customize กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในระดับโลก ในปี 2024 ตลาดมีมูลค่าประมาณ 1.83 แสนล้านบาท (5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และคาดว่าจะเติบโตกว่า 4.08 แสนล้านบาท (1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในปี 2031 คิดเป็นอัตราการเติบโตที่ 11-12% แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความต้องการแสดงออกในสิ่งที่เป็นตัวตน represent สิ่งที่ตัวเองชอบ และพร้อมสนับสนุนสิ่งนั้นเยอะขึ้น

คุณลัลณ์ณภัทร พรหมจันทร์ Chief Executive Officer (CEO) บริษัท แอล เอคลาท์ จำกัด กล่าวว่า “CraftyCotton มาจากการ Research Customer Pain point และเทรนด์ของตลาดเสื้อยืดพิมพ์ลาย โดยเราพบว่าสำหรับตลาดในเมืองไทย ผู้บริโภคมีความต้องการเสื้อยืดลวดลายที่มีเอกลักษณ์เรื่องราว สะท้อนตัวตนของผู้สวมใส่มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็พบปัญหาคุณภาพสินค้าที่ไม่สอดคล้องกับภาพที่เห็นบนเว็บไซต์ ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ และในส่วนของ ‘ผู้สร้างผลงาน หรือ ครีเอเตอร์ (Creator)’ ยังขาดโอกาสในการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนจากงานศิลปะ อีกทั้งเป็นเรื่องยากที่จะสร้างชื่อเสียงและเครือข่ายในวงการศิลปะดิจิทัล”

CraftyCotton มาพร้อมแนวคิด “Community T-Shirt Design”

“เราไม่ใช่เว็บไซต์ขายเสื้อยืด แต่เราคือแพลตฟอร์มคอมมูนิตี้ที่สร้างมูลค่าให้ทุกไอเดียของครีเอเตอร์กลายเป็นงานศิลปะบนเสื้อยืดที่ไม่ซ้ำใคร เปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์และศิลปินทุกคนได้เข้ามาแสดงผลงานสร้างสรรค์ โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นภาพวาด งานศิลปะดิจิทัล หรือแม้กระทั่งผลงานจาก AI ทุกคนสามารถอัปโหลดและแบ่งปันงานศิลปะได้อย่างเสรี โดยครีเอเตอร์ยังสามารถสร้างรายได้โดยตรงจากการจำหน่ายเสื้อยืดผ่าน Revenue Sharing Model

นอกจากนี้ CraftyCotton ยังตอบโจทย์ในมุมผู้บริโภคที่ต้องการมากกว่าแค่เสื้อยืดธรรมดา หากแต่ต้องการเรื่องราวและความหมายที่อยู่เบื้องหลังผลงานศิลปะเพื่อสะท้อนตัวตนและความชอบส่วนตัว ซึ่งพวกเขาจะได้สนับสนุนครีเอเตอร์ที่เขา ชื่นชอบแบบไม่ต้องกังวลเรื่องคุณภาพการผลิต เพราะบริษัทฯ มี Ecosystem ที่แข็งแรง โดยมีโรงงานเสื้อยืดและโรงพิมพ์ดิจิทัลเทคโนโลยีระดับสูงของตนเอง การผลิตจึงถูกควบคุมมาตรฐานด้วยระบบปิดทั้งหมด ตั้งแต่การคัดเลือกผ้าคุณภาพดี ไปจนถึงเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัย เพื่อให้ผลงานของศิลปินถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ” คุณลัลณ์ณภัทร กล่าว

CraftyCotton แพลตฟอร์มคอมมูนิตี้ใหม่ที่ผสมผสานระหว่างศิลปะดิจิทัลและแฟชั่นเสื้อยืด

CraftyCotton มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ตั้งแต่ศิลปินและครีเอเตอร์อิสระ ผู้ที่หลงใหลในศิลปะดิจิทัลและแฟชั่น ไปจนถึงกลุ่มคนที่ชื่นชอบงานศิลปะร่วมสมัยและผู้ที่ต้องการสนับสนุนศิลปินในภูมิภาคเอเชีย ครีเอเตอร์ที่ฝากผลงานไว้บนแพลตฟอร์มจะมีโอกาสสร้างรายได้จากการออกแบบของตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีทุนในการผลิต อีกทั้งยังสามารถสร้างชื่อเสียงและฐานผู้ติดตามผ่านกิจกรรมที่ CraftyCotton จัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยโครงสร้างการทำงานแพลตฟอร์มฯ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่

1. ระบบสำหรับ Creator ในการจัดการผลงานและพัฒนาแบรนด์ของตน

2. ระบบสำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้อเสื้อยืดพร้อมลายที่ออกแบบเองหรือจากศิลปินที่ชื่นชอบ

3. ระบบของ CraftyCotton ที่ดูแลกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่การผลิต การจัดการ การชำระเงิน จนถึงการส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค

คุณลัลณ์ณภัทร กล่าวเสริมว่า “สิ่งที่ทำให้ CraftyCotton แตกต่างคือการให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับครีเอเตอร์ ด้วยการจัดกิจกรรมทุกไตรมาสเพื่อส่งเสริมให้ครีเอเตอร์มีพื้นที่แสดงผลงาน สร้างเวทีและสร้างโอกาส ให้ศิลปินเป็นที่รู้จักในวงการศิลปะดิจิทัล โดยหลังจากงานเปิดตัว ทางเราเตรียมกิจกรรม “UNI T-SHIRT DESIGN BATTLE” ในช่วงเดือนตุลาคม ที่รวมสุดยอดตัวแทนครีเอเตอร์ น้อง ๆ นักศึกษาระดับมหาวิยาลัยมาแสดงโชว์ผลงานที่หน้าเว็บไซต์ และจัดการแข่งขันเพื่อค้นหาผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียวที่ดีที่สุดในประเทศไทย ทั้งนี้ผู้ชนะยังมีโอกาสเดินทางไปศึกษา ดูงานศิลปะที่ต่างประเทศ เพราะเราไม่ได้มองว่าครีเอเตอร์เป็นแค่ผู้ผลิตคอนเทนต์ แต่พวกเขาคือส่วนสำคัญของชุมชน ที่เราต้องการเติบโตไปด้วยกัน”

ภายในงาน ยังมีการมอบรางวัล ‘CraftyCotton Art Contest’ เวทีที่ให้เหล่าครีเอเตอร์ได้แสดงฝีมือแบบไม่จำกัดรูปแบบการออกแบบดีไซน์ เปิดโอกาสให้ใช้จินตนาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่จัดเต็มแบบไม่ยั้ง ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Express Your Design’ แบ่งเป็น 3 ประเภทรางวัล ได้แก่ CraftyCotton Masterpiece Award, Creative Excellence Award และ Popular Choice Award โดยได้รับความสนใจจากเหล่าครีเอเตอร์ส่งผลงานกว่า 6,000 ชิ้นจากทั่วประเทศ ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 150,000 บาท โดยไฮไลท์ช่วง TALKS ได้รับเกียรติจาก คุณอะตอม-ปกรณ์ แก้วดี ครีเอเตอร์สาย Art & Craft ชื่อดัง ที่มาแบ่งปันประสบการณ์การสร้างสรรค์ผลงานและเคล็ดลับการสร้างเอกลักษณ์ให้กับผลงานและเหล่าครีเอเตอร์ รุ่นใหม่ที่ได้ฝากผลงานคอลเล็คชั่นต่างๆ บนแพลตฟอร์มฯ ก็ได้มาร่วมแชร์ข้อมูล คำแนะนำให้แก่ผู้สนใจภายในงานอีกด้วย

“เราไม่ได้หยุดอยู่แค่ในประเทศไทย แต่มีแผนที่จะขยายสู่ตลาดจีน สิงคโปร์ และเวียดนามในปีหน้า เรามองเห็นโอกาสในการเชื่อมโยงศิลปินและผู้บริโภคจากหลากหลายวัฒนธรรม ซึ่งจะนำมาสู่การสร้างสรรค์ผลงานที่มีเอกลักษณ์และสร้างชุมชนศิลปินดิจิทัลที่แข็งแกร่งในภูมิภาคเอเชีย” ผู้บริหารกล่าวทิ้งท้าย

CraftyCotton จึงเป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการแฟชั่นและศิลปะดิจิทัล ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และความใส่ใจในคุณภาพเข้าด้วยกัน พร้อมที่จะเป็นบ้านหลังใหม่สำหรับศิลปินทุกคนที่ต้องการแสดงผลงานและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันก็มอบโอกาสให้ผู้บริโภคได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนศิลปินที่พวกเขาชื่นชอบ สำหรับครีเอเตอร์และผู้สนใจสนับสนุนผลงานศิลปิน สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของกิจกรรมและฝากผลงานของตนเอง ได้ทางเว็บไซต์ CraftyCotton.co , FB: CraftyCotton , IG: Craftycotton.co