อสังหาฯ

แบบหล่อคอนกรีต ในงานก่อสร้าง คืออะไร ?

สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น อาคารบ้านเรือน ตึงสำนักงานต่าง ๆ มีการก่อสร้างที่ต้องใช้ความชำนาญ และการดูแลจากทีมวิศวกรที่มีความสามารถ เพื่อให้การก่อสร้างมีความแข็งแรงทนทาน ปลอดภัยกับผู้อยู่อาศัย ทำให้ โครงสร้างภายในตัวอาคารจะต้องมีการคำนวณก่อสร้างที่ดี ที่ได้รับมาตรฐาน ทั้ง ฐานราก เสา คาน และผนัง  ซึ่งการก่อสร้างหลักสำคัญที่กล่าวมานี้จะต้องใช้การหล่อคอนกรีตเข้าไป ทำให้แบบหล่อคอนกรีตที่จะนำมาใช้ต้องมีความแข็งแรง รองรับน้ำหนัก และการเสียดสีได้ดี เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด

แบบหล่อคอนกรีต คือ ?  และมีความสำคัญกับงานก่อสร้างอย่างไร ?

แบบหล่อคอนกรีต ความหมายก็จะต้องตัวอยู่แล้ว คือ แบบหล่อ ที่เราไว้ใช้หล่อคอนกรีตในการก่อสร้าง เสา คาน ผนัง พื้นต่าง ๆ เพื่อให้ได้รูปแบบ และขนาดตามแบบของการก็สร้างไว้ โดยแบบหล่อคอนกรีตจะเป็นอุปกรณ์ก่อสร้างที่ใช้ชั่วคราวเท่านั้น หากคอนกรีตแข็งตัวได้ที่ก็จะถอดแบบหล่อออกไป อย่างไรก็ตาม ถึงจะเป็นแค่แบบหล่อชั่วคราว แต่ก็มีความสำคัญกับงานก่อสร้างมาก ๆ เพราะจะต้องใช้ในงานก่อสร้างที่สำคัญอย่างที่บอกไป ทำให้ต้องเลือกแบบหล่อที่เหมาะสม ทนทาน ทนต่อแรงต้าน และทนต่อกำลังอัดจากคอนกรีต เพื่อให้งานออกมาดีเป็นไปตามมาตรฐานของด้านวิศวกรรม

แบบหล่อคอนกรีตที่นิยมใช้ในการก่อสร้าง

ในการก่อสร้างอาคาร แบบหล่อคอนกรีตมีความสำคัญมาก ๆ ทำให้ในโครงสร้างแต่ละส่วน ไม่ว่าจะเป็น เสา คาน ฐานราก ผนัง จะต้องเลือกให้ แบบหล่อคอนกรีต ที่มีความแข็งแรง ทนทาน และเหมาะกับโครงสร้างนั้น ๆ เพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์แบบมากที่สุด ซึ่งในปัจจุบัน มีแบบหล่อคอนกรีตให้เลือกมากมาย ทำความต้องการ และความเหมาะสมของการก่อสร้าง สามารถนำมาใช้ในการเทคอนกรีตได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยมีทั้งหมดดังต่อไปนี้

แบบหล่อคอนกรีตด้วย “ไม้แปรรูป”

การใช้ไม้แปรรูป เพื่อมาทำเป็นแบบหล่อคอนกรีตก็สามารถทำได้ และได้รับความนิยมมาก ๆ ในสมัยก่อน ซึ่งไม้มีความแข็งแรง ทนทาน นำมาทำเป็นแบบหล่อได้หลากหลายขนาด และง่ายต่อการใช้งานทั้งการติดตั้ง การถอดแบบ การขนย้าย แถมยังนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก 2-3 ครั้ง แต่ปัจจุบันไม้แปรรูปมีราคาสูงขึ้นมาก ๆ จากอดีต และหาไม้แปรรูปได้ยากขึ้น ทำให้ปัจจุบันไม่ได้เป็นที่นิยมในการใช้เป็นแบบหล่อคอนกรีตอีกต่อไป

แบบหล่อคอนกรีต “ไม้อัด” 

แบบหล่อไม้อัด เป็นวัสดุที่หาได้ง่าย และมีราคาถูก มีการนำมาให้ในการเป็นแบบหล่อคอนกรีต มาใช้แทนไม้แปรรูปมากขึ้น แต่ขอเสียของ การใช้ไม้อัด ซึ่งไม้อั้นมีความแข็งแรงที่น้อยกว่า บางกว่า จึงไม่นิยมนำมาทำเป็นแบบหล่อ เสา หรือคาน แต่นำมาใช้ในการหล่อคอนกรีตในพื้นที่บริเวณกว้าง เช่นพื้น หรือผนัง

แบบหล่อคอนกรีต “เหล็ก”

เหล็ก หนึ่งในวัสดุแบบหล่อที่ได้รับความนิยมใช้ในงานก่อสร้างใหญ่ ๆ  เพราะมีความแข็งแรง ทนทาน รองรับน้ำหนักได้มาก และยังทำให้ผิดของคอนกรีตเรียบเนียนอีกด้วย ถึงเหล็กจะมีราคาสูงมาก ๆ  แต่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้บ่อย ๆ  ประหยัดงบลงไปได้เยอะ แบบหล่อเหล็กที่ใช้ในการหล่อคอนกรีตจะต้องมีความหนาของเหล็กอยู่ที่ 2-3 มม. อย่างไรก็ตามหากต้องการใช้ได้นาน ๆ จะต้องดูแลรักษาให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายจากสนิมได้

แบบหล่อคอนกรีต “พลาสติก”

แบบหล่อพลาสติก วัสดุสมัยใหม่ ที่นิยมมาใช้ในการเป็นแบบหล่อคอนกรีตได้เช่นกัน สามารถออกแบบพลาสติกให้เข้ากับแบบหล่อ เพื่อความสะดวกสบายได้มากขึ้น แถมยังขนย้ายกว่าเหล็กอีกด้วย และทำให้พื้นผิวเรียบเนียนมากยิ่งขึ้น นำกลับมาใช้งานได้หลายครั้ง  การเลือกใช้พลาสติกก็มีความสำคัญ จะต้องเลือกที่มีความทนทาน และมีความแข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักคอนกรีตได้ ซึ่งทำให้ต้นทุนในการทำแบบหล่อพลาสติกมีต้นทุนที่สูงไปด้วย

แบบหล่ออะลูมิเนียม

แบบหล่อคอนกรีตอะลูมิเนียม ได้รับความนิยมมาก เพราะมีน้ำหนักเบา ขนย้ายสะดวก วัสดุมีความแข็งแรง ทนทาน จึงสามารถนำมาใช้กับโครงสร้างอาคารที่มีความสูงมาก ๆ ได้ดี สามารถนำมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง แบบหล่อคอนกรีตอะลูมิเนียม ที่นิยมใช้มากที่สุด คือ แผ่นพาเนลปิดด้วยไม้อัดเคลือบฟิล์มดำ มีน้ำหนักเบา ราคาถูก ทำให้ประหยัดทั้งต้นทุน และเวลาในการก่อสร้างได้ดี

แบบหล่อท่อกระดาษ UD

แบบหล่อคอนกรีต ท่อกระดาษ UD เป็นอีกหนึ่งแบบหล่อที่ใช้เยอะมาก ๆ ในการหล่อเสา เพราะสามารถออกแบบให้เข้ากับเสาที่ต้องการ ด้วยนวัตกรรมด้านวิศวกรรม ถึงจะเป็นเพียงกระดาษแต่สามารถทนต่อความหนักของคอนกรีต และทนต่อความชื้นของน้ำปูนได้ดี มีราคาถูกมาก ๆ ประหยัดเวลาในการก่อสร้างเพราะสามารถสั่ง แบบหล่อคอนกรีต ท่อกระดาษ UD ให้ครบตามจำนวนเสาที่ต้องการหล่อได้ ขนย้ายติดตั้งได้สะดวกมาก ๆ อีกด้วย 

คุณสมบัติของแบบหล่อคอนกรีตที่ดี

การก่อสร้างโครงสร้างที่ต้องใช้ความแข็งแรง ทนทาน การเลือกแบบหล่อที่เข้ากับโครงสร้างต่าง ๆ มากความสำคัญมาก ๆ ที่จะต้องเลือกให้ดี เพื่อให้มีความปลอดภัยในการก่อสร้าง และการเข้าไปใช้งานได้จริง แบบหล่อคอนกรีตที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างจะต้องมีคุณสมบัติที่ดี และคุณสมบัติของแบบหล่อคอนกรีตที่ดี จะมีอะไรบ้างนั้น ซึ่งมีทั้งหมด 4 ข้อดังต่อไปนี้

  • มีความแข็งแรง ผิวเรียบ ทำให้โครงสร้างต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุด ควรมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่โก่งตัว โค้งงอ หลังจากเทคอนกรีตลงไปแล้ว และหากถอดแบบออกมาต้องมีพื้นผิวเรียบ ไม่ขรุขระ จึงจะถือว่าเป็นแบบหล่อคอนกรีตที่ดี
  • มีรอยต่อน้อย ต้องมีรูปแบบของแบบหล่อที่ต่อเชื่อมกัน การเลือกใช้แบบหล่อที่มีรอยต่อน้อย จะทำให้งานออกมาดี ไม่มีการรั่วไหลของปูนออกมาตามรอยต่อต่าง ๆ เพื่อให้โครงสร้างอาคารที่ได้ออกมาเรียบเนียนต่อเนื่อง และยังป้องกันการขยับตัวของแบบหล่ออีกด้วย ซึ่งจะมีผลต่อโครงสร้าง
  • สามารถหาซื้อได้ง่าย แบบหล่อคอนกรีตที่เราแนะนำไปนั้น เป็นแบบหล่อคอนกรีตที่มีการใช้งานจริง ๆ และมีความปลอดภัย และแข็งแรงทนทาน ซึ่งจะมีความเหมาะสมที่แตกต่างกันไปในการก่อสร้าง ดังนั้นจะต้องเลือกแบบหล่อที่สามารถหาได้ง่าย และช่วยลดต้นทุนได้ 
  • ทนต่อปฏิกิริยาจากคอนกรีต เพราะการหล่อคอนกรีตจะต้องใช้เวลาในการรองให้คอนกรีตเซ็ดตัวเวลานาน ซีเมนต์อาจทำปฏิกิริยากับแบบหล่อได้ ดังนั้นแบบหล่อคอนกรีตที่เลือกใช้ จะต้องทนทาน แข็งแรง ทนต่อปฏิกิริยาจากคอนกรีตได้จริง

ขั้นตอนของการติดตั้งถอดแบบหล่อคอนกรีต ที่ถูกต้อง

  • การถอดแบบหล่อคอนกรีต ในการก่อสร้างจะต้องมีการ ควรเตรียมสถานที่ให้พร้อม เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด เพื่อให้คอนกรีตที่ได้สะอาด ไม่มีสิ่งสกปรกเข้าไปได้
  • จัดลำดับการถอนแบบหล่อคอนกรีตให้ดี วางแผนให้รัดกุม การถอนแบบหล่อมีความสำคัญมาก ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้แบบหล่อพังลงมาได้ ก่อนถอนแบบหล่อจะต้องมีการค้ำยันบริเวณส่วนกลางของพื้นหรือคานก่อนเสมอ ในการช่วยรับน้ำหนัก ของคอนกรีตที่เทลงไป
  • มีการคำนวณระยะเวลาที่ใช้ในการถอนแบบหล่ออย่างถูกต้อง ในการเทคอนกรีตจะต้องรอเวลาให้ปูนมีการเซ็ดตัว และแห้งสนิดก่อน เพื่อให้โครงสร้างบ้านออกมามั่นคงแข็งแรงมากที่สุด 
  • การบ่มคอนกรีต เพื่อให้คอนกรีตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีความสำคัญมาก ๆ เพื่อให้โครงสร้างที่หล่อไปมีความแข็งแรง จะต้องทำการฉีดน้ำให้ชุ่ม หรือใช้น้ำยาบ่มคอนกรีต โดยจะต้องทำติดต่อกันใช้เวลาอย่างน้อย 7 วัน ขึ้นไป

ข้อควรระวังที่ไม่ควรทำ ในการถอดแบบหล่อคอนกรีต

  • ไม่ถอดแบบหล่อทีละชิ้น เพราะจะทำให้คอนกรีตเกิดความเสียหาย และมีสีที่ไม่เท่ากันได้ ดังนั้นจะต้องถอนพร้อมกันทั้งหมดจะดีที่สุด 
  • ตรวจสอบอากาศในช่องนั้น ๆ หากมีความชื้นสูง หรือมีอุณหภูมิที่ต่ำลง ควรรอให้คอนกรีตที่เทลงไปในแบบหล่อ มีการเซ็ตตัวซึ่งอาจจะใช้เวลานานกว่าปกติ 
  • การตรวจสอบโครงสร้างหลังถอดแบบหล่อ จะต้องใช้วิศวกรที่มีความชำนาญ และมีเครื่องมือในการตรวจสอบที่พร้อมเท่านั้น ในการเข้ามาตรวจสอบ โครงสร้างทั้งหมดหลังจากถอนแบบหล่อออก และไม่ควรวางสิ่งของ หรือขึ้นไปอยู่บนโครงสร้างหากยังไม่มีการตรวจสอบก่อน

ดังนั้น แบบหล่อคอนกรีตกับการก่อสร้างโครงสร้างมีความสำคัญมาก ในแต่ละรายละเอียดขึ้นตอนของการเลือกแบบหล่อ การหล่อ การถอดแบบ จะต้องมีความเชี่ยวชาญ และมีความชำนาญ เพื่อให้งานก่อสร้างออกมาสมบูรณ์แบบมากที่สุด ทำให้ต้องใส่ในใจการเลือกแบบหล่อ และขั้นตอนการถอดให้ดี เพื่อให้โครงสร้างมีความปลอดภัย มีความแข็งแรง ทนทาน มีความเรียบเนียน ไม่มีรอยแตกร้าว และมีความต่อเนื่องของโครงสร้าง

สนใจติดต่อได้ที่ :  https://www.singchai.co/