รวมพลัง เครือข่ายสถาบันการศึกษาสาธารณสุข ไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า

วันที่ 10 พฤษภาคม 2568 ณ ห้องประชุมปรินซ์บอลรูม 1 โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ งานประชุมวิชาการและพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสาธารณสุข เพื่อการจัดการปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ รุ่นที่ 2 ภายใต้โครงการหน่วยวิชาการเครือข่ายนักสาธารณสุขจัดการปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ (สปสส.) ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

อ.ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร ผู้จัดการหน่วยวิชาการเครือข่ายนักสาธารณสุขจัดการปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ (สปสส.) กล่าวว่า “กิจกรรมการประชุมวิชาการในครั้งนี้เป็นระยะที่ 2 ที่สืบเนื่องมาจากการรวมตัวกันของสถาบันการศึกษาสาธารณสุขที่มีจุดร่วมในเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมสุขภาวะปลอดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพอันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในประเทศ โดยวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นการแสดงผลงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานโครงการด้านการควบคุมปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ อันได้แก่ การควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ บุหรี่ไฟฟ้า และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในพื้นที่ของแต่ละสถาบันการศึกษา อีกทั้งเป็นการสร้างกระแสรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก ปี 2568 นี้ที่มีประเด็นการรณรงค์ คือ “กระชากหน้ากากธุรกิจบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า : นิโคตินเสพติด จน ตาย” กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการแสดงพลังความเป็นวิชาการและวิชาชีพของนักสาธารณสุขให้สังคมรับรู้ถึงศักยภาพของพวกเราในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต ต้องขอขอบพระคุณสถาบันการศึกษาสาธารณสุขแกนนำทั้ง 10 สถาบันและเครือข่ายนักศึกษาภายใต้หน่วยวิชาการฯที่ร่วมกันสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะปลอดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพอย่างเข้มแข็ง ได้แก่ ม.มหิดล, ม.ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิตและลำปาง), ม.รามคำแหง, ม.นเรศวร, ม.ทักษิณ (วิทยาเขตพัทลุง), ม.ราชภัฎร้อยเอ็ด, ม.ราชภัฎนครปฐม, วสส.พิษณุโลก, ม.กรุงเทพธนบุรี และสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย (สนสท.) ซึ่งได้ร่วมกันพัฒนานักศึกษาให้มีศักยภาพในการเป็นนักสาธารณสุขที่มีความพร้อมทั้งในการทำงานพื้นที่เพื่อตอบโจทย์การขับเคลื่อนคณะกรรมการจังหวัดตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ต่อไป


อ.ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร กล่าวทิ้งท้ายว่า “กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาของหน่วยวิชาการฯที่เข้าสู่ระยะที่ 2 นี้จะไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้เลย ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมต่างๆ อาทิ กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มูลนิธิเครือข่ายหมออนามัย สมาคมหมออนามัยวิชาการ สมาคมทันตาภิบาลแห่งประเทศไทย สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนเครือข่ายสร้างสุข พังงา และศูนย์พัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการควบคุมยาสูบ (พศย.) ในนามของหน่วยวิชาการฯ ผมขอกล่าวขอบพระคุณทุกหน่วยงานและทุกภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ทำให้กิจกรรมของหน่วยวิชาการฯสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไปได้ด้วยดี ขอขอบพระคุณครับ”